Spiral of Silence Theory (วงเกลียวแห่งความเงียบ)



ทฤษฎี Spiral of Silence หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า "วงเกลียวแห่งความเงียบ" เป็นทฤษฎีโดย Elisabeth Noelle Neumann อลิซาเบธ โนเอล นอยมานน์ ผู้ที่เชื่อว่าความกดดันจากสังคมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นจะทำให้คนที่มีความเห็นตรงกันข้ามจะไม่กล้าแสดงออก เนื่องจากเชื่อว่าตนเองเป็นเสียงส่วนน้อย และ กลัวจะแปลกแตกแยกออกจากสังคม เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (herd animal)



หลักการ 3 ประการของทฤษฎี

1. มนุษย์มีประสาทสัมผัสที่ 6 ที่รู้สึกได้ว่าตอนนี้กระแสสังคมเป็นอย่างไร โดยไม่ต้องอาศัยหลักฐานใดๆ (อารมณ์เหมือนเราอยู่ในสถานการณ์ที่มัน มาคุ มากๆ เราก็จะรู้สึกขึ้นมาได้เอง โดยไม่ต้องมีใครมาบอกว่ากำลังมาคุ)

2.อย่างที่กล่าวไปข้างต้นผู้คนกลัวการถูกโดดเดี่ยว และ รู้ดีว่าการกระทำใดจะเพิ่มโอกาสในการถูกโดดเดียว (ลึกๆแล้วไม่มีใครอยากเป็น แกะดำ หรอกจริงไหม)

3. จากข้อ 2 จึงทำให้ผู้คนส่วนมากเลือกทีจะทำตามกระแสและหลีกเลี่ยงการแสดงออกถึงความเห็นส่วนน้อยเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกโดดเดี่ยว หรือ บอกคนอาจจะบอกว่าไม่จริง คนเราต้องสู้เพื่อสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่ามีคน 2 ประเภทที่ไม่แคร์สื่อ ได้แก่ อาชญากร หรือ วีระบุรุษ


ขั้นตอนการเกิดวงเกลียวแห่งความเงียบ

1. เมื่อเสพย์สื่อมวลชนเข้ามากๆ ผู้คนบางกลุ่มก็จะเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่าความคิดของตัวเองนั้นไม่ตรงความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่(เนื่องจากไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นจากสื่อมวลชน)

2. ผู้คนกลุ่มนี้จะเริ่มรู้สึกว่าตนเองเป็นเสียงส่วนน้อย (ซึ่งจริงๆอาจจะไม่ใช่ แต่อาจจะเป็นเพราะว่าความคิดเห็นในแบบนั้นไม่ถูกนำเสนอออกมาผ่านสื่อมากกว่า) จึงทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

3. อีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเห็นสอดคล้องกับสื่อมวลชนก็ได้ใจใหญ่ ยิ่งแสดงความคิดเห็นดังขึ้นๆ จึงทำให้ช่อว่างความแตกต่างทางความคิด ความรู้สึกนั้นขยายตัวมากขึ้น คนกลุ่มที่คิดว่าตนเองเป็นเสียงส่วนน้อยก็จะคิดว่าเราเป็นส่วนน้อยมากๆ(เสีย Self ว่าง่ายๆ) คนส่วนใหญ่ก็จะคิดว่าเห็นไหมหละ "ใครๆก็คิดแบบนี้" จนสุดท้ายกลุ่มที่เห็นต่างจากความคิดเห็นที่ถูกแสดงออกผ่านสื่อมวลชนก็จะเงียบในที่สุด

4. ท้ายสุดของเรื่องนี้คือเมื่อไม่มีเสียง(ความคิดเห็นคัดค้านใดๆ) ความคิดที่ถูกมองว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ก็จะครอบงำสังคม และ จะถูกอ้างว่าเป็นเสียงของประชาชนส่วนใหญ่โดยปริยาย (ทั้งที่จริงแล้วคนที่เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยนั้นอาจจะไม่ได้น้อยไปกว่ากันเลย)

จากทฤษฎีนี้ จะเห็นว่าบทบาทอันทรงอิทธิพลของสื่อนั้นสามารถ

  • สื่อ สามารถทำให้เสียงส่วนน้อยหุบปากได้ง่ายขึ้น ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่มีอคติเพียงด้านเดียว และ อ้างว่านี่คือเสียงส่วนใหญ่ของสังคม
  • สื่อ ไม่ได้บอก หรือ ให้ข้อมูลว่าผู้ฟังควรคิดอย่างไร แต่กำลังจะบอกว่าทุกคน(ใครๆ)เขากำลังคิดอย่างไร

พลังอำนาจของสื่อนั้นมาจาก 3 สิ่ง

  • Ubiquity: พลังแห่งการเข้าถึงทุกคนทุกแห่ง
  • Cumulation: การนำเสนอในสิ่งซ้ำๆ สะสมความคิดให้กับผู้ชม
  • Consonance: ความสอดคล้องกันของสื่อต่างๆ ที่ช่วยกันนำเสนอเรื่องราวในมุมที่คล้ายๆกัน ทำให้ยิ่งดูเหมือนว่า ความคิดเห็นอันนั้นเป็นความจริง

ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับทฤษฎีนี้

  • ถ้าตกอยู่ในมือผู้มีอำนาจ? ที่สามารถควบคุมการสื่อสารได้ทุกช่องทาง เขาก็จะสามารถสร้างความจริงที่ดูเหมือนจะจริงขึ้นมาได้ใช่หรือไม่
  • การปกปิดตัวตนในสื่อ Online จะช่วยทำให้เสียงที่สนับสนุนความคิดเห็นที่ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อ มารวมตัว และ ก่อตัวเป็นกลุ่มคนสังคมออนไลน์ได้หรือไม่
  • เมื่อเวลาผ่านไปแล้วความจริงปรากฏ ว่าข้อมูลที่สื่อนำเสนอนั้น ไม่ถูกต้องโดยประจักษ์ ความน่าเชื่อถือของสถาบันสื่อสารมวลชนจะสั่นคลอนไปแค่ไหนอย่างไร

    Faking Awesome

ความคิดเห็น

pasame sal กล่าวว่า
Like this.
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ดีมากเลย
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ดีมากเลย
nathanlabadie กล่าวว่า
What is the most common casino games to play online
Slot games have some very common 성남 출장안마 rules. One of 동해 출장샵 them is 태백 출장마사지 that 서산 출장샵 you want to win the money with some free spins, so that you 공주 출장마사지 can have a chance to win some money